เครื่องปรับอากาศ "ตัวสะสมเชื้อโรค"

Add Comment

เครื่องปรับอากาศ "ตัวสะสมเชื้อโรค"




   "เชื้อโรคอยู่รอบตัวเรา"

    คำพูดนี้คงไม่ผิดไปจากความเป็นจริงมากนักเพราะในชีวิตประจำวันของเราคงไม่อาจหนีเจ้าเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในบ้านไปได้ ซึ่งหลายคนก็เลือกที่จะอาศัยเจ้าเครื่องปรับอากาศมาช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านดีขึ้นด้วย เชื่อตามโฆษณาว่าจะช่วยให้บ้านหลังน้อยของเราปลอดภัยจากเชื้อโรคได้ แต่ใครจะรู้ว่าเจ้า "เครื่องปรับอากาศ" หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "แอร์" ที่หลายคนเชื่อว่าจะช่วยดูดฝุ่น ดูดเชื้อโรคได้จะกลับกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดีไปซะเอง...!!!


   "แล้วมีวิธีป้องกันไหมนะ?"


    สำหรับวิธีป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ล้างทำความสะอาดแอร์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการล้างแผ่นกรองอากาศอย่าน้อยเดือนละครั้ง โดยใช้น้ำฉีดแรงๆที่ด้านหลัง (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกไป และในแต่ละปีควรล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบจะช่วยขจัดเอาฝุ่นละออง เชื้อโรคที่เกาะติดอยู่กับส่วนต่างๆของเครื่อง และที่ล่องลอยอยู่ในอากาศภายในห้องทิ้งออกไป


   นอกจากนี้ยังควรดูแลสิ่งแวดล้อมในห้องที่ใช้แอร์ด้วย โดยจำกัดฝุ่น กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ ละอองเกสรพืช ไรฝุ่นในที่นอน ขนสัตว์ และแมลงอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ สำหรับบ้านหลังไหนที่มีหิ้ง ชั้นวางของ และตู้จำนวนมาก ต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ และควรทำความสะอาดเพดาน ม่าน กำแพง ทุกๆ 2-3 เดือน เพื่อกำจัดแหล่งเชื้อรา อย่าให้เกิดความชื้นหรือกลิ่นอับขึ้นภายในบ้านหรือในห้องที่ใช้แอร์ได้


   เมื่อดูแลทำความสะอาดรอบๆ ตัวเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เพื่อเสริมกำลังให้กับภูมิต้านทานในร่างกายให้แข็งแกร่ง สามารถที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายต่างๆ ได้เช่นกัน 


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th


สารทำความเย็น R410A สารทำความเย็นยุคใหม่

Add Comment

สารทำความเย็น R410A สารทำความเย็นยุคใหม่ 





   สารทำความเย็นทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีกโดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์


    ทำไมถึงต้องใช้ สารทำความเย็น R410A

     สารทำความเย็นแบบใหม่ หรือ HFC (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) คือสารที่ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน (cl) ซึ่งไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ในเวลานี้คือน้ำยา R410A ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง (COP : Coefficient of Performance) เป็นสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟถูกต้องตามข้อกำหนดของพรบ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2536 นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา เพราะปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาจึงมีการปล่อยก๊าซหรือสารที่ ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อันเปรียบเสมือนเกราะที่คอยกั้นความร้อนจากแสงของดวงอาทิตย์และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งนับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้นการเล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง มาใช้สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในเครื่องปรับอากาศเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในรุ่นทั่วไป (Fix Speed) และรุ่นระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter System)


     ข้อดี ของสารทำความเย็น R410A



       นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ ใช้ปริมาณน้ำยาน้อยลงมาก มีแรงดันของน้ำยามากกว่าน้ำยาแอร์เบอร์ R-22 อีกทั้งช่วยให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และคุณภาพของเสียงของเครื่องปรับอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้น้ำยาแอร์ R410a มีลักษณะเด่นที่ชัดเจนดีกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่นๆในปัจจุบัน ที่ใช้แทนสารทำความเย็นชนิด R22 ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศในประเทศไทยและแถบเอเชียส่วนใหญ่ ได้เริ่มมีการเปลี่ยนน้ำยาเครื่องปรับอากาศ จากเดิมที่เคยใช้คือสารทำความเย็น R 22 เปลี่ยนมาเป็นสารทำความเย็น R410a ตามพีธีสารมอนทรีออลที่ต้องการลดการทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ    เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับโลกและสิ่งแวดล้อม   เสนอให้มีการเปลี่ยนที่เครื่องปรับอากาศทุกแบรนด์ต้องเปลี่ยนน้ำยามาใช้สารทำความเย็น R410a  ก่อนปีค.ศ. 2020 ดังเช่นผู้ผลิตชั้นนำของตลาดแอร์บ้าน มิตซูอิเล็กทริค ซึ่งทำทุกรุ่นตั้งแต่ขนาดเล็กจนขนาดใหญ่รวมทั้งระบบซิตี้มัลติ ซึ่งเป็นแอร์ 2 ระบบ     ทำความเย็นและความร้อนในเครื่องเดียวกันในขณะที่พานาโซนิค ก็เปลี่ยนน้ำยาแอร์จากR 22 มาใช้ น้ำยาแอร์ R410a  ในรุ่นอินเวอร์เตอร์แล้วเช่นกัน  และเครื่องปรับอากาศยี่ห้ออื่นก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์ R410a บ้างเป็นบางรุ่นที่เป็นรุ่นอินเวอร์เตอร์เช่นกัน

     การเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a นั้น ต้องเปลี่ยนกันหลายอย่างหรือเรียกได้ว่าเปลี่ยนกันยกชุด ตั้งแต่คอมเพรสเซอรแอร์ที่ต้องใช้สำหรับน้ำยาตัวนี้โดยเฉพาะ เครื่องมือในการแว็คน้ำยาเกจ์น้ำยาแอร์เบอร์ R410a ก็ต้องมีการเปลี่ยนด้วยเช่นกัน เพราะน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a มีแรงดันมากกว่าน้ำยาแอร์ R-22 วาล์วน้ำยาจึงมีขนาดใหญ่ว่าและแน่นอนครับว่าไม่สามารถใช้เกจ์น้ำยา R-22 วัดแรงดัน หรือเติมน้ำแอร์ R410a ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการเกิดสภาวะโลกร้อนให้มากที่สุด เราก็ควรเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a เพื่อโลกของเราจะได้น่าอยู่ขึ้น


     การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศสารทำความเย็น R410A กับ R22



     การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศน้ำยา R410A กับ R22 การดูแลเครื่องปรับอากาศโดยผู้ใช้มีวิธีการขั้นตอน รวมถึงเครื่องมือที่ ไม่แตกต่างกันเช่น การถอดแผ่นฟิลเตอร์ออกมาล้าง หรือการเช็ด Line flow fan การล้างแอร์มีวิธีการ ขั้นตอนรวมถึงเครื่องมือที่ไม่แตกต่างกัน การเติมน้ำยาแอร์ (กรณีที่เกิดการรั่ว) ควรรู้และใช้น้ำยาทำความเย็นที่ถูกต้องตรงตามประเภทของเครื่องปรับอากาศ อัตราค่าล้างแอร์ไม่แตกต่างกันระหว่างน้ำยา R410A กับ R22

     แนวโน้มในอนาคต น้ำยา R410A มีแนวโน้มราคาต่ำลง และแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่น้ำยา R22 มีแนวโน้มน้อยลงเนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดในการลดการนำเข้าน้ำยา R22 (HFCF) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและพิธีสารมอลทรีออล


ข้อมูลจาก : กรมโรงงานอุตสาหกรรม, aeonworld,bkairsupply

มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ ที่ผู้ใช้งานควรรู้ก่อนจะซื้อ

Add Comment
มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ ที่ผู้ใช้งานควรรู้ก่อนจะซื้อ


     ระบบในเครื่องปรับอากาศที่ทำงานเกี่ยวข้องกันอยู่ 2 ระบบคือ ระบบท่อทองแดงทางเดินของสารทำความเย็นเชื่อมต่อระหว่างทั้ง 2 Unit และระบบไฟฟ้ากำลัง และไฟฟ้าควบคุมการทำงาน




     การเดินท่อระบบหมุนเวียนของสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่เรียกกันว่าแบบสปริทไทร์มีคอยล์ร้อน Condensing Unit ตั้งอยู่ด้านนอก และคอยล์เย็น Fancoil unit ตั้งอยู่ภายใน แยกเป็น 2 ชุด ขนาดทำความเย็นไม่เกิน 60,000 บีทียู 80% เป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แบบแขวน ฝังในฝ้า สี่ทิศทางการฉีดน้ำยาจะฉีดที่คอยล์ร้อนป้องกันเสียงการฉีดน้ำยามารบกวนภายในห้อง โดยเฉพาะห้องนอนหรือห้องทำงานที่ต้องการความเงียบเป็นพิเศษ เป็นข้อมูลที่ต้องทราบระหว่างลูกค้า ลูกน้อง และเจ้าของ ที่ต้องทราบว่าจะเดินท่อระบบฯ วัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยความประหยัด และความสวยงาม ในบางกรณีไม่สามารถเลือกได้ครบทั้ง 3 อย่าง เนื่องจากราคาสถานที่ และศักยภาพ รวมถึงเวลาด้วย






     กล่าวคือในด้านการทำธุรกิจ ราคามาเป็นอันดับต้น ๆ ตามด้วยความปลอดภัย ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านฝีมือแรงงาน ด้านเทคโนโลยี และสภาวะโลกร้อนที่ใคร ๆ ก็ต้องมีมาตรการในการปฏิบัติให้อยู่ภายใต้กรอบอันเดียวกัน เพื่อส่วนรวมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แน่นอนคนที่เสียสละมากกว่าก็ลำบากมากกว่า อาจจะกลายเป็นคนโง่ในด้านการทำธุรกิจ และอาจแข่งขันไม่ได้ถ้าตัวเองยังไม่แข็งแรง การทำธุรกิจในโลกปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ราคาเป็นเป้าหมาย (ราคาต่ำสุด) แน่นอนมาตรฐานการติดตั้งทีให้กับลูกค้าไม่ชัดเจน จึงต้องหาความรับผิดชอบเป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกค้าต้องเป็นผู้เลือกเองได้ ด้วยการพิจารณาจากราคาที่ปานกลาง เหมาะสมกับพื้นฐานการประกอบการ โดยเฉพาะความเป็นมืออาชีพ ชื่อเสียงที่มีมาก่อน การใช้ดุลยพินิจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากในการคัดสรร การเลือกซื้อ เลือกใช้โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ โดยมีมาตรฐานเป็นเบื้องต้นในการพิจารณาดังนี้




1. มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ

     ยี่ห้อเป็นที่นิยมของตลาด ความมีชื่อเสียงของเจ้าของผลิตภัณฑ์ การรับประกันตัวสินค้าเริ่มตั้งแต่ 1-5 ปี ตามรุ่น มอก. มาตรฐานอุตสาหกรรม ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นเบื้องต้น

2. มาตรฐานฝีมือช่าง

     การติดตั้งใช้งาน นอกจากเครื่องปรับอากาศมีคุณลักษณะมีคุณภาพแล้ว ยังต้องการการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ช่างจำเป็นต้องมีความรู้ ประสบการณ์ความสามารถในการติดตั้งที่มีเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ ประสบการณ์ที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 


ข้อมูลที่มา : สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย

INVERTER

Add Comment
INVERTER



     อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือระบบที่ควบคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบ และคงที่ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่า ทำให้ระบบ Inverter สามารถควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ประหยัดการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงานปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์


ระบบอินเวอร์เตอร์ INVERTER ดียังไง

     ในการทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆ ว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง


ประหยัดไฟได้อย่างไร 

     เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอิน เวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การรกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น


ต่างกับระบบเดิมตรงไหน

     นอกจากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว


คุณสมบัติเด่น แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter


1. ประหยัดไฟกว่า 20 -30 % เนื่องจากระบบคอมเพรสเซอร์ทำงานลดรอบ (ความถี่) หลักการทำงาน เช่น แอร์บ้าน 12000 BTU พอห้องเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ระบบจะลดรอบการทำงานลงจะทำความเย็น อยู่ที่ 3000 BTU เท่านั้น เป็นการประหยัดไฟมาก

2. เย็นเร็วทันใจ ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ตอนเปิดเครื่องแรกๆ คอมเพรสเซอร์จะทำงานในรอบสูงสุด คือเท่าคอมย็นที่ 110% เช่น แอร์บ้าน ขนาด 12000 BTU จะทำความเย็นสูงสุดประมาณ 13500 BTU จะทำให้ห้องเย็นเร็วทันใจกว่า

3. รักษาอุณหภูมิห้องได้คงที่ การที่ระบบ อินเวอร์เตอร์ Inverter ทำงานต่อเนื่องโดยการเพิ่มหรือลดรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์ไม่มีหยุดเป็นช่วงๆ ทำให้อุณหภูมิจะนิ่งมาก รักษาอุณหภูมิได้คงที่กว่าไม่รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนระบบ แอร์บ้านธรรมดา

4. เสียงของเครื่องทำงานเงียบกว่า เนื่องจากคอมเพลสเซอร์มีการลดรอบการทำงาน ดั้งนั้นตอนที่ห้องเย็นดีแล้วคอล์ยเย็นและระบบฉีดน้ำยาจะลดเสียงการทำงานทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเงียบกว่า แอร์บ้าน รุ่นธรรมดา 

5. อากาศสดชื่นกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ระบบรุ่นธรรมดา เวลาคอมเพรสเซอร์ตัด อากาศในห้องจะมีกลิ่นอับชื้น แต่ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter คอมเพรสเซอร์ไม่ตัดจะเป็นการลดรอบความเย็น จะไม่มีกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสดชื่นตลอดการใช้งาน  

6. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับน้ำยาตัวใหม่ R410A ไม่ทำลายชั้นโอโซชั้นบรรยากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบนี้ ปี 2555 จะมีข้อบังคับในการใช้น้ำยาตัวใหม่ R410A สำหรับแอร์บ้านทุกเครื่อง ดั้งนั้นจะพูดได้ว่า แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เป็นแอร์อนาคต ที่ผู้บริโภคเลือกแล้วได้ประโยชน์คุ้มสุด



หมายเหตุ การตัดและเริ่มสตาร์ทของคอมเพรสเซอร์สำหรับแอร์บ้าน ระบบธรรมดา ช่วงออกตัวจะกินไฟสูงกว่าถึง 200 - 300 %

การเปรียบเทียบค่าไฟระหว่าง ระบบ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) กับ ระบบธรรมดา ประหยัดกว่า 20-30%




หมายเหตุ ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวคอมเพรสเซอร์ ลดรอบ เพิ่มรอบ เองโดยอัตโนมัติ เหมื่อนตัวอย่างในตาราง เช่น รุ่น 9000 BTU ลดรอบทำความเย็นต่ำสุด 2700 BTU รอบสปีดทำความเย็นสูงสุด 10900 BTU ทำให้ประหยัดไฟยิ่งกว่า


   

ปัญหาแอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร?

Add Comment
ปัญหาแอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร?



     หน้าร้อนแบบนี้หลายคนก็คงต้องหวังพึ่งแอร์ เพื่อทำให้อากาศภายในบ้านสดชื่น เเต่พอเปิดใช้งาน จู่ๆเกิดมีเสียงประหลาดๆดังออกมาจากแอร์ซะงั้น ก็ต้องมาหาที่มาของเสียงนั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วการที่แอร์บ้านมีเสียงขึ้นมาได้นั้นมีอยู่หลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ 


1. แอร์มีเสียงดังเนื่องจากคอยล์เย็นเสื่อมสภาพ ในแอร์นั้นจะมีพัดลมตัวใหญ่ที่จะคอยทำหน้าที่ดูด-เป่าอากาศภายในห้อง ซึ่งภายในพัดลมนั้นก็จะมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า ตลับลูกปืนพัดลมหรือแบริ่งมอเตอร์ หากชิ้นส่วนนี้เกิดการเสื่อมสภาพ หรือจารบีที่ใส่ไว้ในตลับลูกปืนแห้ง ก็จะทำให้แอร์มีเสียงดังในขณะที่พัดลมแอร์กำลังทำงานนั่นเอง แอร์ที่ใช้งานมานานก็ต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน

2. ถ้าหากเป็นแอร์ที่เก่ามากๆ อาจเกิดเสียงดังเวลาทำงานเนื่องจากโครงสร้างผิดรูป เกิดช่องว่างระหว่างตัวอุปกรณ์ หรือช่องว่างระหว่างตัวแอร์กับผนังที่ติดตั้ง ทำให้เวลาแอร์ทำงานก็จะเกิดอาการสั่นสะเทือน ซึ่งทำให้เกิดเสียงรบกวนได้


3. แอร์มีเสียดังเพราะมีฝุ่นเข้าไปเกาะสะสมมาก เพราะหากเราไม่ได้ทำการล้างแอร์เป็นเวลานาน ทำให้อุปกรณ์ภายในนั้นมีฝุ่นเข้าไปจับตามส่วนต่างๆ นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์เกิดเสียงขณะทำงานเช่นกัน หรือหากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวแอร์(ส่วนใหญ่จะเป็นมดหรือแมลงต่างๆ) จนมอเตอร์ทำงานไม่สะดวก ก็ทำให้แอร์มีเสียงดังเช่นกัน


4. แอร์เกิดเสียงดังจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน หากเรามีการจ้างช่างแอร์เข้ามาติดตั้งแอร์ในบ้าน หรือมีการถอดชิ้นส่วนของแอร์มาเพื่อทำการล้าง แต่ด้วยการที่ช่างอาจจะขาดประสบการณ์ ทำให้การติดตั้งหรือประกอบแอร์กลับเข้าไปไม่ได้มาตรฐาน ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้


5. แอร์มีเสียงดังเนื่องจากขันน็อตยึดคอมเพรสเซอร์ไม่แน่น บางครั้งเสียงที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากตัวเครื่องปรับอากาศโดยตรง แต่มาจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่เราติดตั้งเอาไว้ดูดอากาศร้อนออกไปภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเกิดมาจากคุณภาพการประกอบติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นกัน


6. ลูกยางรองคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ก็คือพัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่ ที่เวลาทำงานก็จะหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนได้ยาก ดังนั้น หากส่วนของลูกยางที่ทำหน้าที่รองรับแรงสั่นสะเทือนของพัดลมคอมเพรสเซอร์เกิดเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะจากภาวะอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ อาจเกิดได้ง่าย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายนอกบ้าน ก็จะทำให้แอร์มีเสียงดังเช่นกัน


7. โครงที่วางคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพ นอกจากลูกยางแล้ว หากโครงเหล็กที่เราใช้วางคอมเพรสเซอร์เกิดการเสื่อมสภาพ น๊อตหลวม หรือติดตั้งเข้ากับกำแพง ฯลฯ เวลาคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะเกิดเสียงดังเช่นกัน


8. ใบพัดลมคอมเพรสเซอร์แตก หากเรามีการใช้งานตัวแอร์และคอมเพรสเซอร์มาเป็นเวลานาน จำเป็นต้องตรวจเช็คคุณภาพของพัดลมในอุปกรณ์ด้วย เพราะอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเวลาแอร์ทำงาน ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนได้เช่นกัน



วิธีแก้ปัญหาแอร์มีเสียงดัง



- เลือกใช้บริการติดตั้ง ซ่อมดูแล และล้างเครื่องปรับอากาศจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานในการทำงาน

- เลือกพื้นที่วางคอมเพรสเซอร์แอร์ให้ดี เนื่องจากคอมเพรสเซอร์จะต้องติดตั้งภายนอกอาคาร จึงอาจพิจารณาให้มีที่กั้นกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเครื่อง

- ดูแลรักษาแอร์แบบพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้ง การตรวจท่อเช็คน้ำยาแอร์ หรือการล้างแอร์ทุกๆ 3 เดือน และต้องตรวจเช็คคอมเพรสเซอร์เพิ่มเติมนอกจากตัวแอร์ที่ติดตั้งในห้องด้วย 

        ถ้าแอร์เกิดมีเสียงดัง อย่าปล่อยไว้เป็นปัญหาเรื้อรัง ควรรีบแก้ใข ถ้าแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ก็เรียกช่างมาดูให้ เนื่องจากแอร์ที่ทำงานได้เย็นเร็วและเงียบ ก็คือหนึ่งในปัจจัยแห่งความสุขที่จำเป็นสำหรับบ้านทุกๆ คนเสมอ


ขอบคุณข้อมูลจาก : วิชาการ.คอม