คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
.
ควรเลือกคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยคอมเพรสเซอร์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
.
1. คอมเพรสเซอร์ลูกสูบ (Reciprocating Compressor) นับว่าพบใช้กันมากที่สุด คือพบใช้กับเครื่องทำความเย็นตั้งแต่ขนาดเล็กๆประมาณ 1/20 แรงม้าขึ้นไปจนกระทั่งถึงเครื่องทำความเย็นในระบบใหญ่ๆ ขนาด 50-60 ตัน นิยมใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่
: ทำงานด้วยการใช้กระบอกสูบในการอัดน้ำยา ให้กำลังแรงสูง แต่มีความสั่นสะเทือนสูง และเสียงค่อนข้างดัง
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
จุดเด่น
2. สามารถใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศที่มีการเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งไกลๆ
3. มีขนาดให้เลือกใช้กว้างตั้งแต่ 1/20 แรงม้าถึง 50 แรงม้า
4. มีความคงทนสูง
จุดด้อย
2. มีเสียงดัง
3. ต้องใช้อุปกรณ์ในการช่วยสตาร์ท (รุ่น 220 V/1Ph/50Hz)
2. คอมเพรสเซอร์โรตารี่ (Rotary Compressor) มีขีดจำกัดในการใช้งานคือ ใช้ได้ดีกับระบบที่มีกำลังม้าน้อยๆ เช่น เครื่องปรับอากาศที่
ขนาดไม่เกิน 32000 Btu/h แต่ถ้าระบบใหญ่กว่านี้คอมเพรสเซอร์แบบโรตารีจะใช้งานไม่สู้ดีนัก
: ทำงานด้วยการหมุนของใบพัดที่มีความเร็วสูง มีความสั่นสะเทือนน้อย เสียงเงียบ เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
: ทำงานด้วยใบพัดรูปก้นหอย โดยจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพสูงและเงียบมีความสั่นสะเทือนน้อยมาก ให้พลังงานสูง ถือว่าดีกว่าคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน
คอมเพรสเซอร์แบบสโครล์
จุดเด่น
2. เงียบ
3. ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการช่วยสตาร์ท
4. สามารถใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศที่มีการเดินท่อระหว่างแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่งไกลๆ
จุดด้อย
2. ราคาแพง
3. คอมเพรสเซอร์มีรูปร่างสูงและระบบมีการให้ตัวในแนวระดับขณะสตาร์ทซึ่งอาจทำให้ท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อกับคอมเพรสเซอร์เกิดการแตกรั่วได้เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานๆ
EmoticonEmoticon