เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)

เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)



          เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ (Air conditioner, aircon) คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหะสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งเเบบตั้งพื้น ติดผนัง เเละเเขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการถ่ายเทความร้อน คือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอกอากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น เเละเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย

          ขนาดเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตรเย็นลด 1 องศาฟาเรนไฮต์)  (5/9 องศาเซลเซียส)



ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน

          ถ้าเเบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยูนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

     1.เเบบชั้นเดียว - หรือพวกเราคุ้นเคยในในชื่อ เเอร์ฝัง แบบติดหน้าต่าง/ผนัง (window type) ตัวเเฟนคอยล์ ยุนิตจะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต (ส่วนที่เป็นลมเย็นให้กับภายในห้อง)

ข้อดี  

- ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
- ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ทำให้สามารถติดตั้งง่ายและสะดวก
- ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
- สามารถทำความเย็นได้ดีมาก
- เครื่องเดินเงียบทนทานประหยัดไฟ
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินท่อน้ำยา
- ไม่มีปัญหาในการหาที่วางคอยล์ร้อนเหมือนแอร์แบบอื่นๆ 


ข้อเสีย 

- เสียงจะค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะเมื่อมันเก่ามากๆ) เเรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่อง 
- จะมีปัญหาในการติดตั้ง ถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม 
- ความสามารถในการส่งอากาศเย็นเป็นไปในช่วงแคบกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น


  นอกจากนี้ภายในตัวเครื่องยังประกอบด้วยวงจรการทำความเย็นการหมุนเวียนอากาศสมบรูณ์ในตัว ซึ่งวงจรการหมุนเวียนของอากาศจะถูกเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ วงจรการหมุนเวียนของอากาศภายนอกห้องเเละวงจรหมุนเวียนของอากาศภายในห้อง โดยมีมอเตอร์ชนิด เเกนเพลาเป็นตัวขับเคลื่อนใบพัดให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ






     2.เเบบแยกชิ้น (split type) - เป็นเเบบที่เราเห็นกันทั่วไปเเละนิยมมากที่สุด โดยตัวเเฟนคอยล์ ยูนิตนั้นจะเเยกไปติดตั้งภายนอกอาคาร ทำให้มี

ข้อดี คือ เงียบ เเละมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก 
ข้อเสีย คือ การติดตั้งที่จะค่อนข้างเสียเวลาเพราะต้องมีการเดินท่อน้ำยาแอร์ 






          น้ำยาแอร์ ปัจจุบันที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศภายทั่วไปรวมถึงตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศเเบบส่วนกลางที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-22 ส่วนน้ำยาเเอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์มชื่อเรียกทางเคมีว่า R-134A



 ค่า EER

           ค่า EER ย่อมาจาก  Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น


     หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER  สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (BTU/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง)


          ค่า EER นี้ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้แลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.6 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 27,296 บีทียู/ชั่วโมง และ 11.0 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด มากกว่า 27,296 บีทียู/ชั่วโมง

ปัจจุบันได้เพิ่ม SEER สำหรับเครื่องปรับอากาศเเบบอินเวอร์เตอร์

          อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER สูงๆ ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย (ดูตารางประกอบด้านล่าง)



          การดูจากหน่วยของค่า EER นี้เข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง กับค่าพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้บริโภคในการทำความเย็น เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า


          เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง


          ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้แล้ว หรือต้องการใช้เครื่องปรับอากาศยังมีข้อสงสัยเรื่องการประหยัดไฟของเครื่องปรับอากาศเบอร์ 4 หรือ เบอร์ 5 ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และจะประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งค่าการประหยัดไฟแต่ละเบอร์นั้นได้กำหนดตามระดับ EER ดังตารางด้านล่างนี้



 ตัวอย่าง 


          การคํานวณค่าไฟฟ้า      

                 ชั่วโมงการใช้งานเครื่องปรับอากาศ 8 ชั่วโมง/วัน                 
      อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.96 บาท/หน่วย


~ โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศมักจะบอกขนาดเป็นบีทียูต่อชั่วโมง (Btu/hr.) 

~แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเรียกสั้นๆ ว่าบีทียู Btu เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า British Thermal Units

~"ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ 1 ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม)

อุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส) ในเวลา 1 ชั่วโมง" 

1  บีทียู  =   1,055  จูล

หน่วย  12,000  บีทียู/ชั่วโมง มักจะเรียกว่า 1 ตันทำความเย็น ซึ่งจะหมายถึงว่าปริมาณความร้อนที่สามารถละลายน้ำแข็งหนัก 1 ตันให้ละลายเป็นน้ำได้หมดในเวลา 1 ชั่วโมง

โดยทั่วไป ในเนื้อที่  1 ตารางฟุต  ดึงความร้อนออกประมาณ  30  บีทียู  

ดังนั้นเนื้อที่ประมาณ  2000  ตารางฟุต  (185.5  ตารางเมตร)  
ต้องใช้เครื่องปรับอากาศขนาด  60,000  บีทียูหรือขนาด 5 ตันทำความเย็น


อย่างไรก็ตามเป็นการคำนวณคร่าว ๆ  เพราะจะต้องรวมของที่อยู่ในห้อง จำนวนคน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


Share this

Related Posts

Previous
Next Post »