เครื่องปรับอากาศ "ตัวสะสมเชื้อโรค"

Add Comment

เครื่องปรับอากาศ "ตัวสะสมเชื้อโรค"




   "เชื้อโรคอยู่รอบตัวเรา"

    คำพูดนี้คงไม่ผิดไปจากความเป็นจริงมากนักเพราะในชีวิตประจำวันของเราคงไม่อาจหนีเจ้าเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในบ้านไปได้ ซึ่งหลายคนก็เลือกที่จะอาศัยเจ้าเครื่องปรับอากาศมาช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านดีขึ้นด้วย เชื่อตามโฆษณาว่าจะช่วยให้บ้านหลังน้อยของเราปลอดภัยจากเชื้อโรคได้ แต่ใครจะรู้ว่าเจ้า "เครื่องปรับอากาศ" หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "แอร์" ที่หลายคนเชื่อว่าจะช่วยดูดฝุ่น ดูดเชื้อโรคได้จะกลับกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดีไปซะเอง...!!!


   "แล้วมีวิธีป้องกันไหมนะ?"


    สำหรับวิธีป้องกันนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ล้างทำความสะอาดแอร์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการล้างแผ่นกรองอากาศอย่าน้อยเดือนละครั้ง โดยใช้น้ำฉีดแรงๆที่ด้านหลัง (ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น) ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกไป และในแต่ละปีควรล้างเครื่องปรับอากาศแบบเต็มระบบจะช่วยขจัดเอาฝุ่นละออง เชื้อโรคที่เกาะติดอยู่กับส่วนต่างๆของเครื่อง และที่ล่องลอยอยู่ในอากาศภายในห้องทิ้งออกไป


   นอกจากนี้ยังควรดูแลสิ่งแวดล้อมในห้องที่ใช้แอร์ด้วย โดยจำกัดฝุ่น กำจัดแหล่งที่อยู่ของแมลงสาบ ละอองเกสรพืช ไรฝุ่นในที่นอน ขนสัตว์ และแมลงอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ สำหรับบ้านหลังไหนที่มีหิ้ง ชั้นวางของ และตู้จำนวนมาก ต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ และควรทำความสะอาดเพดาน ม่าน กำแพง ทุกๆ 2-3 เดือน เพื่อกำจัดแหล่งเชื้อรา อย่าให้เกิดความชื้นหรือกลิ่นอับขึ้นภายในบ้านหรือในห้องที่ใช้แอร์ได้


   เมื่อดูแลทำความสะอาดรอบๆ ตัวเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เพื่อเสริมกำลังให้กับภูมิต้านทานในร่างกายให้แข็งแกร่ง สามารถที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายต่างๆ ได้เช่นกัน 


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th


สารทำความเย็น R410A สารทำความเย็นยุคใหม่

Add Comment

สารทำความเย็น R410A สารทำความเย็นยุคใหม่ 





   สารทำความเย็นทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีกโดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์


    ทำไมถึงต้องใช้ สารทำความเย็น R410A

     สารทำความเย็นแบบใหม่ หรือ HFC (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) คือสารที่ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน (cl) ซึ่งไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ ในเวลานี้คือน้ำยา R410A ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง (COP : Coefficient of Performance) เป็นสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟถูกต้องตามข้อกำหนดของพรบ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2536 นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา เพราะปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาจึงมีการปล่อยก๊าซหรือสารที่ ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อันเปรียบเสมือนเกราะที่คอยกั้นความร้อนจากแสงของดวงอาทิตย์และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งนับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้นการเล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและริเริ่มการเปลี่ยนแปลง มาใช้สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในเครื่องปรับอากาศเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในรุ่นทั่วไป (Fix Speed) และรุ่นระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter System)


     ข้อดี ของสารทำความเย็น R410A



       นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ ใช้ปริมาณน้ำยาน้อยลงมาก มีแรงดันของน้ำยามากกว่าน้ำยาแอร์เบอร์ R-22 อีกทั้งช่วยให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และคุณภาพของเสียงของเครื่องปรับอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้น้ำยาแอร์ R410a มีลักษณะเด่นที่ชัดเจนดีกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่นๆในปัจจุบัน ที่ใช้แทนสารทำความเย็นชนิด R22 ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศในประเทศไทยและแถบเอเชียส่วนใหญ่ ได้เริ่มมีการเปลี่ยนน้ำยาเครื่องปรับอากาศ จากเดิมที่เคยใช้คือสารทำความเย็น R 22 เปลี่ยนมาเป็นสารทำความเย็น R410a ตามพีธีสารมอนทรีออลที่ต้องการลดการทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ    เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับโลกและสิ่งแวดล้อม   เสนอให้มีการเปลี่ยนที่เครื่องปรับอากาศทุกแบรนด์ต้องเปลี่ยนน้ำยามาใช้สารทำความเย็น R410a  ก่อนปีค.ศ. 2020 ดังเช่นผู้ผลิตชั้นนำของตลาดแอร์บ้าน มิตซูอิเล็กทริค ซึ่งทำทุกรุ่นตั้งแต่ขนาดเล็กจนขนาดใหญ่รวมทั้งระบบซิตี้มัลติ ซึ่งเป็นแอร์ 2 ระบบ     ทำความเย็นและความร้อนในเครื่องเดียวกันในขณะที่พานาโซนิค ก็เปลี่ยนน้ำยาแอร์จากR 22 มาใช้ น้ำยาแอร์ R410a  ในรุ่นอินเวอร์เตอร์แล้วเช่นกัน  และเครื่องปรับอากาศยี่ห้ออื่นก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์ R410a บ้างเป็นบางรุ่นที่เป็นรุ่นอินเวอร์เตอร์เช่นกัน

     การเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a นั้น ต้องเปลี่ยนกันหลายอย่างหรือเรียกได้ว่าเปลี่ยนกันยกชุด ตั้งแต่คอมเพรสเซอรแอร์ที่ต้องใช้สำหรับน้ำยาตัวนี้โดยเฉพาะ เครื่องมือในการแว็คน้ำยาเกจ์น้ำยาแอร์เบอร์ R410a ก็ต้องมีการเปลี่ยนด้วยเช่นกัน เพราะน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a มีแรงดันมากกว่าน้ำยาแอร์ R-22 วาล์วน้ำยาจึงมีขนาดใหญ่ว่าและแน่นอนครับว่าไม่สามารถใช้เกจ์น้ำยา R-22 วัดแรงดัน หรือเติมน้ำแอร์ R410a ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการเกิดสภาวะโลกร้อนให้มากที่สุด เราก็ควรเปลี่ยนมาใช้น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น R410a เพื่อโลกของเราจะได้น่าอยู่ขึ้น


     การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศสารทำความเย็น R410A กับ R22



     การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศน้ำยา R410A กับ R22 การดูแลเครื่องปรับอากาศโดยผู้ใช้มีวิธีการขั้นตอน รวมถึงเครื่องมือที่ ไม่แตกต่างกันเช่น การถอดแผ่นฟิลเตอร์ออกมาล้าง หรือการเช็ด Line flow fan การล้างแอร์มีวิธีการ ขั้นตอนรวมถึงเครื่องมือที่ไม่แตกต่างกัน การเติมน้ำยาแอร์ (กรณีที่เกิดการรั่ว) ควรรู้และใช้น้ำยาทำความเย็นที่ถูกต้องตรงตามประเภทของเครื่องปรับอากาศ อัตราค่าล้างแอร์ไม่แตกต่างกันระหว่างน้ำยา R410A กับ R22

     แนวโน้มในอนาคต น้ำยา R410A มีแนวโน้มราคาต่ำลง และแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่น้ำยา R22 มีแนวโน้มน้อยลงเนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดในการลดการนำเข้าน้ำยา R22 (HFCF) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและพิธีสารมอลทรีออล


ข้อมูลจาก : กรมโรงงานอุตสาหกรรม, aeonworld,bkairsupply

มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ ที่ผู้ใช้งานควรรู้ก่อนจะซื้อ

Add Comment
มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ ที่ผู้ใช้งานควรรู้ก่อนจะซื้อ


     ระบบในเครื่องปรับอากาศที่ทำงานเกี่ยวข้องกันอยู่ 2 ระบบคือ ระบบท่อทองแดงทางเดินของสารทำความเย็นเชื่อมต่อระหว่างทั้ง 2 Unit และระบบไฟฟ้ากำลัง และไฟฟ้าควบคุมการทำงาน




     การเดินท่อระบบหมุนเวียนของสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่เรียกกันว่าแบบสปริทไทร์มีคอยล์ร้อน Condensing Unit ตั้งอยู่ด้านนอก และคอยล์เย็น Fancoil unit ตั้งอยู่ภายใน แยกเป็น 2 ชุด ขนาดทำความเย็นไม่เกิน 60,000 บีทียู 80% เป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แบบแขวน ฝังในฝ้า สี่ทิศทางการฉีดน้ำยาจะฉีดที่คอยล์ร้อนป้องกันเสียงการฉีดน้ำยามารบกวนภายในห้อง โดยเฉพาะห้องนอนหรือห้องทำงานที่ต้องการความเงียบเป็นพิเศษ เป็นข้อมูลที่ต้องทราบระหว่างลูกค้า ลูกน้อง และเจ้าของ ที่ต้องทราบว่าจะเดินท่อระบบฯ วัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยความประหยัด และความสวยงาม ในบางกรณีไม่สามารถเลือกได้ครบทั้ง 3 อย่าง เนื่องจากราคาสถานที่ และศักยภาพ รวมถึงเวลาด้วย






     กล่าวคือในด้านการทำธุรกิจ ราคามาเป็นอันดับต้น ๆ ตามด้วยความปลอดภัย ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านฝีมือแรงงาน ด้านเทคโนโลยี และสภาวะโลกร้อนที่ใคร ๆ ก็ต้องมีมาตรการในการปฏิบัติให้อยู่ภายใต้กรอบอันเดียวกัน เพื่อส่วนรวมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แน่นอนคนที่เสียสละมากกว่าก็ลำบากมากกว่า อาจจะกลายเป็นคนโง่ในด้านการทำธุรกิจ และอาจแข่งขันไม่ได้ถ้าตัวเองยังไม่แข็งแรง การทำธุรกิจในโลกปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ราคาเป็นเป้าหมาย (ราคาต่ำสุด) แน่นอนมาตรฐานการติดตั้งทีให้กับลูกค้าไม่ชัดเจน จึงต้องหาความรับผิดชอบเป็นสิ่งจำเป็นที่ลูกค้าต้องเป็นผู้เลือกเองได้ ด้วยการพิจารณาจากราคาที่ปานกลาง เหมาะสมกับพื้นฐานการประกอบการ โดยเฉพาะความเป็นมืออาชีพ ชื่อเสียงที่มีมาก่อน การใช้ดุลยพินิจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากในการคัดสรร การเลือกซื้อ เลือกใช้โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ โดยมีมาตรฐานเป็นเบื้องต้นในการพิจารณาดังนี้




1. มาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ

     ยี่ห้อเป็นที่นิยมของตลาด ความมีชื่อเสียงของเจ้าของผลิตภัณฑ์ การรับประกันตัวสินค้าเริ่มตั้งแต่ 1-5 ปี ตามรุ่น มอก. มาตรฐานอุตสาหกรรม ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นเบื้องต้น

2. มาตรฐานฝีมือช่าง

     การติดตั้งใช้งาน นอกจากเครื่องปรับอากาศมีคุณลักษณะมีคุณภาพแล้ว ยังต้องการการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ช่างจำเป็นต้องมีความรู้ ประสบการณ์ความสามารถในการติดตั้งที่มีเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ ประสบการณ์ที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 


ข้อมูลที่มา : สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย

INVERTER

Add Comment
INVERTER



     อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือระบบที่ควบคุมการปรับอากาศ ให้เป็นอย่างราบเรียบ และคงที่ด้วยการปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ โดยการเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ของคอมเพรสเซอร์แทนการทำงานแบบ ติด-ดับ-ติด-ดับ ในเครื่องปรับอากาศแบบเก่า ทำให้ระบบ Inverter สามารถควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ประหยัดการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงานปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์


ระบบอินเวอร์เตอร์ INVERTER ดียังไง

     ในการทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่ง การทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆ ว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำ งานอะไรบ้าง


ประหยัดไฟได้อย่างไร 

     เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอิน เวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การรกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโคร คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น


ต่างกับระบบเดิมตรงไหน

     นอกจากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็น ผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิม ไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว


คุณสมบัติเด่น แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter


1. ประหยัดไฟกว่า 20 -30 % เนื่องจากระบบคอมเพรสเซอร์ทำงานลดรอบ (ความถี่) หลักการทำงาน เช่น แอร์บ้าน 12000 BTU พอห้องเย็นตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ระบบจะลดรอบการทำงานลงจะทำความเย็น อยู่ที่ 3000 BTU เท่านั้น เป็นการประหยัดไฟมาก

2. เย็นเร็วทันใจ ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ตอนเปิดเครื่องแรกๆ คอมเพรสเซอร์จะทำงานในรอบสูงสุด คือเท่าคอมย็นที่ 110% เช่น แอร์บ้าน ขนาด 12000 BTU จะทำความเย็นสูงสุดประมาณ 13500 BTU จะทำให้ห้องเย็นเร็วทันใจกว่า

3. รักษาอุณหภูมิห้องได้คงที่ การที่ระบบ อินเวอร์เตอร์ Inverter ทำงานต่อเนื่องโดยการเพิ่มหรือลดรอบการทำงานคอมเพรสเซอร์ไม่มีหยุดเป็นช่วงๆ ทำให้อุณหภูมิจะนิ่งมาก รักษาอุณหภูมิได้คงที่กว่าไม่รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ เหมือนระบบ แอร์บ้านธรรมดา

4. เสียงของเครื่องทำงานเงียบกว่า เนื่องจากคอมเพลสเซอร์มีการลดรอบการทำงาน ดั้งนั้นตอนที่ห้องเย็นดีแล้วคอล์ยเย็นและระบบฉีดน้ำยาจะลดเสียงการทำงานทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเงียบกว่า แอร์บ้าน รุ่นธรรมดา 

5. อากาศสดชื่นกว่า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ระบบรุ่นธรรมดา เวลาคอมเพรสเซอร์ตัด อากาศในห้องจะมีกลิ่นอับชื้น แต่ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter คอมเพรสเซอร์ไม่ตัดจะเป็นการลดรอบความเย็น จะไม่มีกลิ่นอับชื้น ทำให้อากาศสดชื่นตลอดการใช้งาน  

6. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับน้ำยาตัวใหม่ R410A ไม่ทำลายชั้นโอโซชั้นบรรยากาศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบนี้ ปี 2555 จะมีข้อบังคับในการใช้น้ำยาตัวใหม่ R410A สำหรับแอร์บ้านทุกเครื่อง ดั้งนั้นจะพูดได้ว่า แอร์บ้าน ระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เป็นแอร์อนาคต ที่ผู้บริโภคเลือกแล้วได้ประโยชน์คุ้มสุด



หมายเหตุ การตัดและเริ่มสตาร์ทของคอมเพรสเซอร์สำหรับแอร์บ้าน ระบบธรรมดา ช่วงออกตัวจะกินไฟสูงกว่าถึง 200 - 300 %

การเปรียบเทียบค่าไฟระหว่าง ระบบ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) กับ ระบบธรรมดา ประหยัดกว่า 20-30%




หมายเหตุ ระบบอินเวอร์เตอร์ ตัวคอมเพรสเซอร์ ลดรอบ เพิ่มรอบ เองโดยอัตโนมัติ เหมื่อนตัวอย่างในตาราง เช่น รุ่น 9000 BTU ลดรอบทำความเย็นต่ำสุด 2700 BTU รอบสปีดทำความเย็นสูงสุด 10900 BTU ทำให้ประหยัดไฟยิ่งกว่า


   

ปัญหาแอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร?

Add Comment
ปัญหาแอร์เสียงดัง เกิดจากอะไร?



     หน้าร้อนแบบนี้หลายคนก็คงต้องหวังพึ่งแอร์ เพื่อทำให้อากาศภายในบ้านสดชื่น เเต่พอเปิดใช้งาน จู่ๆเกิดมีเสียงประหลาดๆดังออกมาจากแอร์ซะงั้น ก็ต้องมาหาที่มาของเสียงนั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วการที่แอร์บ้านมีเสียงขึ้นมาได้นั้นมีอยู่หลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ 


1. แอร์มีเสียงดังเนื่องจากคอยล์เย็นเสื่อมสภาพ ในแอร์นั้นจะมีพัดลมตัวใหญ่ที่จะคอยทำหน้าที่ดูด-เป่าอากาศภายในห้อง ซึ่งภายในพัดลมนั้นก็จะมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า ตลับลูกปืนพัดลมหรือแบริ่งมอเตอร์ หากชิ้นส่วนนี้เกิดการเสื่อมสภาพ หรือจารบีที่ใส่ไว้ในตลับลูกปืนแห้ง ก็จะทำให้แอร์มีเสียงดังในขณะที่พัดลมแอร์กำลังทำงานนั่นเอง แอร์ที่ใช้งานมานานก็ต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน

2. ถ้าหากเป็นแอร์ที่เก่ามากๆ อาจเกิดเสียงดังเวลาทำงานเนื่องจากโครงสร้างผิดรูป เกิดช่องว่างระหว่างตัวอุปกรณ์ หรือช่องว่างระหว่างตัวแอร์กับผนังที่ติดตั้ง ทำให้เวลาแอร์ทำงานก็จะเกิดอาการสั่นสะเทือน ซึ่งทำให้เกิดเสียงรบกวนได้


3. แอร์มีเสียดังเพราะมีฝุ่นเข้าไปเกาะสะสมมาก เพราะหากเราไม่ได้ทำการล้างแอร์เป็นเวลานาน ทำให้อุปกรณ์ภายในนั้นมีฝุ่นเข้าไปจับตามส่วนต่างๆ นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์เกิดเสียงขณะทำงานเช่นกัน หรือหากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวแอร์(ส่วนใหญ่จะเป็นมดหรือแมลงต่างๆ) จนมอเตอร์ทำงานไม่สะดวก ก็ทำให้แอร์มีเสียงดังเช่นกัน


4. แอร์เกิดเสียงดังจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน หากเรามีการจ้างช่างแอร์เข้ามาติดตั้งแอร์ในบ้าน หรือมีการถอดชิ้นส่วนของแอร์มาเพื่อทำการล้าง แต่ด้วยการที่ช่างอาจจะขาดประสบการณ์ ทำให้การติดตั้งหรือประกอบแอร์กลับเข้าไปไม่ได้มาตรฐาน ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้


5. แอร์มีเสียงดังเนื่องจากขันน็อตยึดคอมเพรสเซอร์ไม่แน่น บางครั้งเสียงที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากตัวเครื่องปรับอากาศโดยตรง แต่มาจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่เราติดตั้งเอาไว้ดูดอากาศร้อนออกไปภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเกิดมาจากคุณภาพการประกอบติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานเช่นกัน


6. ลูกยางรองคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ก็คือพัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่ ที่เวลาทำงานก็จะหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนได้ยาก ดังนั้น หากส่วนของลูกยางที่ทำหน้าที่รองรับแรงสั่นสะเทือนของพัดลมคอมเพรสเซอร์เกิดเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะจากภาวะอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ อาจเกิดได้ง่าย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายนอกบ้าน ก็จะทำให้แอร์มีเสียงดังเช่นกัน


7. โครงที่วางคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพ นอกจากลูกยางแล้ว หากโครงเหล็กที่เราใช้วางคอมเพรสเซอร์เกิดการเสื่อมสภาพ น๊อตหลวม หรือติดตั้งเข้ากับกำแพง ฯลฯ เวลาคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะเกิดเสียงดังเช่นกัน


8. ใบพัดลมคอมเพรสเซอร์แตก หากเรามีการใช้งานตัวแอร์และคอมเพรสเซอร์มาเป็นเวลานาน จำเป็นต้องตรวจเช็คคุณภาพของพัดลมในอุปกรณ์ด้วย เพราะอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปเวลาแอร์ทำงาน ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนได้เช่นกัน



วิธีแก้ปัญหาแอร์มีเสียงดัง



- เลือกใช้บริการติดตั้ง ซ่อมดูแล และล้างเครื่องปรับอากาศจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานในการทำงาน

- เลือกพื้นที่วางคอมเพรสเซอร์แอร์ให้ดี เนื่องจากคอมเพรสเซอร์จะต้องติดตั้งภายนอกอาคาร จึงอาจพิจารณาให้มีที่กั้นกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในตัวเครื่อง

- ดูแลรักษาแอร์แบบพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้ง การตรวจท่อเช็คน้ำยาแอร์ หรือการล้างแอร์ทุกๆ 3 เดือน และต้องตรวจเช็คคอมเพรสเซอร์เพิ่มเติมนอกจากตัวแอร์ที่ติดตั้งในห้องด้วย 

        ถ้าแอร์เกิดมีเสียงดัง อย่าปล่อยไว้เป็นปัญหาเรื้อรัง ควรรีบแก้ใข ถ้าแก้ด้วยตัวเองไม่ได้ก็เรียกช่างมาดูให้ เนื่องจากแอร์ที่ทำงานได้เย็นเร็วและเงียบ ก็คือหนึ่งในปัจจัยแห่งความสุขที่จำเป็นสำหรับบ้านทุกๆ คนเสมอ


ขอบคุณข้อมูลจาก : วิชาการ.คอม  

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศ


     เราควรทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า เพราะส่วนมากเป็นประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ เเอร์ 50-80 เปอร์เซ็นต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ควรจะศึกษาทำความเข้าใจเพื่อตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และไม่เกินความจำเป็น


การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ





     เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานจึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศดังนี้

1. หมั่นตรวจสอบ และทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแฟนคอยล์ยูนิต ทุก 2 สัปดาห์

2. แผงคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนควรทำความสะอาด 3-6 เดือนต่อครั้ง

3. มอเตอร์พัดลมทั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเด็นซิ่งยูนิต ต้องมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือนและ ทำการหล่อลื่นโดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

4. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์

5. ตรวจดููทิศทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม

6. ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเด็นซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต

7. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่

8. ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ




1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม โดยตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25'C หากปรับอุณหภูมิเป็น 26-28'C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20

2. ใช้พัดลมช่วยในการถ่ายเทอากาศให้รู้สึกสบายขึ้น

3. อย่านำสิ่งของไปขวางทางลมเข้าออกของคอนเดนซิ่งยูนิต จะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออก และอย่านำสิ่งของไปขวางทางลมของ แฟนคอยล์ ยูนิตทำให้ห้องไม่เย็น

4. ลดความชื้นภายในห้องให้ต่ำ โดยการไม่ปลูกต้นไม้หรือตากผ้าภายในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศที่สุด เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น

5. ควรเปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะเปิดใช้งานจะมีความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น

6. รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

7. สังเกตเสียงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ว่าปกติดีหรือไม่

8. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ




ก่อนการติดตั้ง

   เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัดพลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้

1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศมีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย

2. หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง

3. เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมี แผ่นฟอยล์ (Aluminum Foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้าจะช่วยลดการส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้

4. พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จาเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่ นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก

5. ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้าติดกับห้องนอน อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้าก็ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น

6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้าสู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่าง แผ่นเกล็ดมาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่

7. ควรทาสีผนังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการนำความร้อนผ่านผนังได้ดี


กระบวนการติดตั้ง

   การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว ยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น

2. หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนา เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายนอกตามเส้นท่อ

3. ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ 

4. ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก

6. ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง



     ในการเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เลือกตามขนาดสายไฟฟ้า ตามกฎบังคับการเดินสายไฟฟ้า เช่น NEC,I.E.C และกฎการเดินสายของการไฟฟ้านครหลวง กฎการเดินสายไฟฟ้ามักกาหนดขนาดของสายโดยมีหลักการจำกัดอุณหภูมิของสายไฟฟ้าไม่ให้เกิดพิกัดที่ฉนวนสายไฟฟ้าจะทนได้และในการเลือกสายไฟฟ้าต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้


1.แรงดันไฟฟ้าตกในสายไฟฟ้า โลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าในสายจะมีความต้านทานอยู่ด้วยผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทานจะเป็นแรงดันตกในสาย ซึ่งถ้าแรงดันตกมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้

2. แรงดันไฟฟ้าตกในขณะสตาร์ทมอเตอร์ ในขณะที่มอเตอร์เริ่มสตาร์ทจะกินกระแสไฟฟ้าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์เริ่มเดินที่รอบปกติที่ภาระเต็มที่ (Full Load) ขึ้นอยู่กับแบบมอเตอร์เอง และจะลดเมื่อมอเตอร์หมุนซึ่งผลกระทบที่มีต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ของระบบปรับอากาศคือ จะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนไม่ได้ และบางครั้งออกตัวแล้วแต่ไม่สามารถเร่งความเร็วขึ้นจนถึงความเร็วใช้งานได้ทาให้หยุดหมุน เนื่องจากโอเวอร์โหลดตัด



เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)

Add Comment
เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)



          เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ (Air conditioner, aircon) คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหะสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งเเบบตั้งพื้น ติดผนัง เเละเเขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการถ่ายเทความร้อน คือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอกอากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น เเละเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย

          ขนาดเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตรเย็นลด 1 องศาฟาเรนไฮต์)  (5/9 องศาเซลเซียส)



ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน

          ถ้าเเบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยูนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

     1.เเบบชั้นเดียว - หรือพวกเราคุ้นเคยในในชื่อ เเอร์ฝัง แบบติดหน้าต่าง/ผนัง (window type) ตัวเเฟนคอยล์ ยุนิตจะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต (ส่วนที่เป็นลมเย็นให้กับภายในห้อง)

ข้อดี  

- ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
- ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ทำให้สามารถติดตั้งง่ายและสะดวก
- ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
- สามารถทำความเย็นได้ดีมาก
- เครื่องเดินเงียบทนทานประหยัดไฟ
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินท่อน้ำยา
- ไม่มีปัญหาในการหาที่วางคอยล์ร้อนเหมือนแอร์แบบอื่นๆ 


ข้อเสีย 

- เสียงจะค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะเมื่อมันเก่ามากๆ) เเรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่อง 
- จะมีปัญหาในการติดตั้ง ถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม 
- ความสามารถในการส่งอากาศเย็นเป็นไปในช่วงแคบกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น


  นอกจากนี้ภายในตัวเครื่องยังประกอบด้วยวงจรการทำความเย็นการหมุนเวียนอากาศสมบรูณ์ในตัว ซึ่งวงจรการหมุนเวียนของอากาศจะถูกเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ วงจรการหมุนเวียนของอากาศภายนอกห้องเเละวงจรหมุนเวียนของอากาศภายในห้อง โดยมีมอเตอร์ชนิด เเกนเพลาเป็นตัวขับเคลื่อนใบพัดให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ






     2.เเบบแยกชิ้น (split type) - เป็นเเบบที่เราเห็นกันทั่วไปเเละนิยมมากที่สุด โดยตัวเเฟนคอยล์ ยูนิตนั้นจะเเยกไปติดตั้งภายนอกอาคาร ทำให้มี

ข้อดี คือ เงียบ เเละมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก 
ข้อเสีย คือ การติดตั้งที่จะค่อนข้างเสียเวลาเพราะต้องมีการเดินท่อน้ำยาแอร์ 






          น้ำยาแอร์ ปัจจุบันที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศภายทั่วไปรวมถึงตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศเเบบส่วนกลางที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-22 ส่วนน้ำยาเเอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์มชื่อเรียกทางเคมีว่า R-134A



 ค่า EER

           ค่า EER ย่อมาจาก  Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น


     หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER  สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (BTU/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง)


          ค่า EER นี้ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้แลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.6 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 27,296 บีทียู/ชั่วโมง และ 11.0 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด มากกว่า 27,296 บีทียู/ชั่วโมง

ปัจจุบันได้เพิ่ม SEER สำหรับเครื่องปรับอากาศเเบบอินเวอร์เตอร์

          อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER สูงๆ ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย (ดูตารางประกอบด้านล่าง)



          การดูจากหน่วยของค่า EER นี้เข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง กับค่าพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้บริโภคในการทำความเย็น เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า


          เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง


          ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้แล้ว หรือต้องการใช้เครื่องปรับอากาศยังมีข้อสงสัยเรื่องการประหยัดไฟของเครื่องปรับอากาศเบอร์ 4 หรือ เบอร์ 5 ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และจะประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งค่าการประหยัดไฟแต่ละเบอร์นั้นได้กำหนดตามระดับ EER ดังตารางด้านล่างนี้



 ตัวอย่าง 


          การคํานวณค่าไฟฟ้า      

                 ชั่วโมงการใช้งานเครื่องปรับอากาศ 8 ชั่วโมง/วัน                 
      อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.96 บาท/หน่วย


~ โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศมักจะบอกขนาดเป็นบีทียูต่อชั่วโมง (Btu/hr.) 

~แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเรียกสั้นๆ ว่าบีทียู Btu เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า British Thermal Units

~"ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ 1 ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม)

อุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส) ในเวลา 1 ชั่วโมง" 

1  บีทียู  =   1,055  จูล

หน่วย  12,000  บีทียู/ชั่วโมง มักจะเรียกว่า 1 ตันทำความเย็น ซึ่งจะหมายถึงว่าปริมาณความร้อนที่สามารถละลายน้ำแข็งหนัก 1 ตันให้ละลายเป็นน้ำได้หมดในเวลา 1 ชั่วโมง

โดยทั่วไป ในเนื้อที่  1 ตารางฟุต  ดึงความร้อนออกประมาณ  30  บีทียู  

ดังนั้นเนื้อที่ประมาณ  2000  ตารางฟุต  (185.5  ตารางเมตร)  
ต้องใช้เครื่องปรับอากาศขนาด  60,000  บีทียูหรือขนาด 5 ตันทำความเย็น


อย่างไรก็ตามเป็นการคำนวณคร่าว ๆ  เพราะจะต้องรวมของที่อยู่ในห้อง จำนวนคน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ

Add Comment
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ




1. คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ กับสารทำความเย็น โดยสารทำความเย็นเหลวซึ่งมีความดัน และอุณหภูมิต่ำจะรับความร้อนเข้ามามีผลทำให้สารทำความเย็นเดือดกลายเป็นไอ

2. คอยล์ร้อน (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ไอสารทำความเย็นควบแน่นกลับเป็นสารทำความเย็น ในสถานะของเหลว โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นเมื่อไอน้ายาสูญเสียความร้อนถึงจุดหนึ่งจะควบแน่นเป็นของเหลว ความร้อนที่ถูกดึงออกจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่สารทาความเย็นดูดกลืนจากคอยล์เย็นบวกกับความร้อนที่ได้รับจากการทางานโดยการอัดของคอมเพรสเซอร์

3. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็น โดยการดูดและอัด มีผลให้ ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทาให้สารทำความเย็นเกิดการไหลเวียนใน ระบบอีกด้วย โดยปกติคอมเพรสเซอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทำการดูดและอัด น้ำยาโดยเฉพาะ และ น้ำยาหรือสารทำความเย็นที่จะผ่านคอมเพรสเซอร์จะต้องมีสภาพเป็นไอ น้ำยา (สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ)เท่านั้น ดังนั้นถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีน้ายาสภาพเป็นของเหลวไหลผ่านเข้ามาจะเกิดผลเสียหายกับ คอมเพรสเซอร์อย่างแน่นอน

4. อุปกรณ์ลดความดัน (Expansion Valve) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็นและควบคุมปริมาณการไหลของสารทำความเย็นก่อนเข้าคอยล์เย็นให้มีปริมาณพอเหมาะ


     เครื่องปรับอากาศมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง คือ ส่วนที่เรามองเห็นโดยที่ไม่ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบภายในเครื่อง คือ ส่วนที่จะเห็นเมื่อถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศออก 


     ส่วนประกอบภายนอก 

    ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศจะแตกต่างกันตามแบบและรุ่นของเครื่องปรับอากาศนั้นๆ ในหน่วยการเรียนนี้จะอธิบายเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนัง ดังนี้

   1.ฝาครอบเครื่องปรับอากาศมีลักษณะเป็นตะแกรงเพื่อให้อากาศที่ดูดจากใบพัดส่งลมเย็นไหลผ่าน

   2.แผงกรองอากาศติดตั้งอยู่ด้านหลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ ใช้เพื่อกรองฝุ่น ละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศ เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีสารฟอกอากาศอยู่ที่แผงกรองอากาศนี้

   3.แผ่นเกล็ดกระจายลมเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางลมขึ้น ลง ด้านซ้าย และด้านขวาได้ เพื่อกำหนดทิศทางของลมเย็นที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศ

   4.สวิตช์เปิดและปิดส่วนใหญ่เครื่องปรับอากาศจะเปิดสวิตช์นี้ค้างไว้เพื่อรับคำสั่งการเปิดและปิดจากรีโมทคอนโทรล ดังนั้นสวิตช์เปิดและปิดจึงมักติดตั้งอยู่หลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ

   5.ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ในปัจจุบันสั่งงานด้วยสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลเพื่อให้สะดวกในการสั่งงาน ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลจึงเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญชิ้นหนึ่ง

   6.ไฟแสดงการทำงาน ลักษณะไฟจะแตกต่างกันไปตามประเภทและรุ่นของเครื่องปรับอากาศ ปกติแล้วจะมี 3 ดวง คือไฟสีแดงแสดงสภาวะเครื่องทำงาน (Power) ไฟสีส้มแสดงสภาวะในขณะที่คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศไม่ทำงานแต่ใบพัดส่งลมเย็นทำงานอยู่ (Sleep) และไฟสีเหลืองแสดงสภาวะการตั้งเวลาของเครื่องปรับอากาศ  (Time)

   7.ช่องอากาศออก มีลักษณะเป็นตะแกรงอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารเป็นช่องระบายอากาศที่ถูกพัดลมดูดอากาศจากอีกด้านหนึ่งพัดผ่านแผงท่อระบายความร้อนออกมา

   8.ท่อระบายน้ำทิ้งเมื่อเครื่องปรับอากาศดูดอากาศและความชื้นภายในห้องเข้ามาความชื้นเหล่านั้นจะกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำและถูกระบายออกทางท่อระบายน้ำทิ้ง





     ส่วนประกอบภายใน

     ส่วนประกอบภายใน ภายในของเครื่องปรับอากาศจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่สำคัญดังนี้

   1.ท่อนำสารทำความเย็น (Refrigerant Pipe) แบ่งออกเป็น 2 ท่อ ทำหน้าที่ ส่งสารทำความเย็นเข้าสู่แผงทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศส่วนที่อยู่ภายในอาคาร และนำสารจากแผงทำความเย็นไปยังคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ภายนอกอาคาร

   2.แผงท่อทำความเย็น(Cooling coil) มีลักษณะเป็นตะแกรงติดตั้งอยู่ด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ภายในแผงท่อทำความเย็นจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่เพื่อรับลมจากใบพัดส่งลมเย็นและส่งไปยังแผ่นเกล็ดกระจายลม

   3.มอเตอร์(Motor) มีหน้าที่หมุนใบพัดส่งลมเย็นเพื่อให้เกิดแรงลม

   4.ใบพัดส่งลมเย็น(Blower) ต่อเชื่อมกับมอเตอร์สำหรับพัดส่งลมเย็นไปยังแผงท่อทำความเย็น

   5.คอมเพรสเซอร์(Compressor) ติดตั้งอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่อยู่ในสภาพเป็นไอจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและอัดไอจากสารทำความเย็นไปยังแผงท่อระบายความร้อนต่อไป

   6.แผงท่อระบายความร้อน(Condensing coil)  ต่อเชื่อมกับคอมเพรสเซอร์มีลักษณะเป็นท่อตะแกรง ภายในมีสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ไหลเวียนอยู่

   7.พัดลมระบายความร้อน(Condensing fan) อยู่ด้านหลังแผงท่อระบายความร้อนทำหน้าที่ดูดอากาศภายนอกอาคารเข้ามาผ่านผ่านแผงท่อระบายความร้อนเพื่อให้สารทำความเย็นเย็นลงและกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

4 Comments
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

          การนำเอาความร้อนจากที่ที่ต้องการทำความเย็น (โดยทั่วไปคือภายในอาคาร) ถ่ายเทไปสู่ที่ที่ไม่ต้องการทำความเย็น (นอกอาคาร) โดยผ่านตัวกลางคือ สารทำความเย็นหรือที่เรียกกันว่าน้ำยา ซึ่งจะมีลักษณะการทางานดังรูป




          เมื่อทำการเปิดเครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็นซึ่งเป็นของเหลวในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป


          จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทาให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของห้องอย่างทั่วถึง


        สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็นเมื่อได้รับความร้อนจากอากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอและไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่งต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอดเวลาจนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้



     อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทาความเย็นใหม่ ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25'C



ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ

Add Comment
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ


EER กับ BTU คืออะไร

BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศมีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr

BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการ ทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สะบายตัว และที่สำคัญ ราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน

BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตาม อุณหภูมิ ที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศ เสียเร็ว




การเลือกขนาด BTU 






     EER (Energy Efficiency Ratio) เป็นค่าประสิทธิภาพพลังงานซึ่งคำนวณโดยการเอาค่าบีทียูมาหารด้วยจำนวนวัตต์ เช่น เครื่องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ใช้พลังงาน 1,200 วัตต์ ค่า EER จะเท่ากับ 12,000 / 1,200 =10.0



ค่า EER ยิ่งสูงยิ่งประหยัดค่าไฟ

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน

Add Comment

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน




1. ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศในแต่ละรุ่น

2. เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง

4. เครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือกซื้อเครื่องที่ติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพหมายเลข 5

5. เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย

6. เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน และพื้นที่ใช้สอย

7. เลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป 
โดยขนาดความสูงของห้องปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้

พื้นที่ 13-15 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 8,000 บีทียู 
พื้นที่ 16-17 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 10,000 บีทียู 
พื้นที่ 20 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 12,000 บีทียู 
พื้นที่ 23-24 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 14,000 บีทียู 
พื้นที่ 30 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 18,000 บีทียู 
พื้นที่ 40 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 24,000 บีทียู

8. เลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทาความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้

- ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น

ชนิดของเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

ชนิดของเครื่องปรับอากาศ


     เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป มักมี


     เครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ

1. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split Type)

2. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (Window Type)


 1. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split Type) 

ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ

1.) ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ด กระจายลมเย็น



2.) อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต
(Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น






 2. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (Window Type)

        มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติดตั้ง หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป มักติดเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง ที่วงกบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง