การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
ก่อนการติดตั้ง
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัดพลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้
1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศมีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย
2. หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง
3. เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมี แผ่นฟอยล์ (Aluminum Foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้าจะช่วยลดการส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศมีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย
2. หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง
4. พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จาเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่ นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก
5. ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้าติดกับห้องนอน อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้าก็ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น
6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้าสู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่าง แผ่นเกล็ดมาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
7. ควรทาสีผนังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการนำความร้อนผ่านผนังได้ดี
กระบวนการติดตั้ง
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว ยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
2. หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนา เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายนอกตามเส้นท่อ
3. ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
4. ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก
5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก
6. ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง
ในการเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เลือกตามขนาดสายไฟฟ้า ตามกฎบังคับการเดินสายไฟฟ้า เช่น NEC,I.E.C และกฎการเดินสายของการไฟฟ้านครหลวง กฎการเดินสายไฟฟ้ามักกาหนดขนาดของสายโดยมีหลักการจำกัดอุณหภูมิของสายไฟฟ้าไม่ให้เกิดพิกัดที่ฉนวนสายไฟฟ้าจะทนได้และในการเลือกสายไฟฟ้าต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
1.แรงดันไฟฟ้าตกในสายไฟฟ้า โลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าในสายจะมีความต้านทานอยู่ด้วยผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทานจะเป็นแรงดันตกในสาย ซึ่งถ้าแรงดันตกมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้
2. แรงดันไฟฟ้าตกในขณะสตาร์ทมอเตอร์ ในขณะที่มอเตอร์เริ่มสตาร์ทจะกินกระแสไฟฟ้าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์เริ่มเดินที่รอบปกติที่ภาระเต็มที่ (Full Load) ขึ้นอยู่กับแบบมอเตอร์เอง และจะลดเมื่อมอเตอร์หมุนซึ่งผลกระทบที่มีต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ของระบบปรับอากาศคือ จะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนไม่ได้ และบางครั้งออกตัวแล้วแต่ไม่สามารถเร่งความเร็วขึ้นจนถึงความเร็วใช้งานได้ทาให้หยุดหมุน เนื่องจากโอเวอร์โหลดตัด
2. แรงดันไฟฟ้าตกในขณะสตาร์ทมอเตอร์ ในขณะที่มอเตอร์เริ่มสตาร์ทจะกินกระแสไฟฟ้าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์เริ่มเดินที่รอบปกติที่ภาระเต็มที่ (Full Load) ขึ้นอยู่กับแบบมอเตอร์เอง และจะลดเมื่อมอเตอร์หมุนซึ่งผลกระทบที่มีต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ของระบบปรับอากาศคือ จะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนไม่ได้ และบางครั้งออกตัวแล้วแต่ไม่สามารถเร่งความเร็วขึ้นจนถึงความเร็วใช้งานได้ทาให้หยุดหมุน เนื่องจากโอเวอร์โหลดตัด
EmoticonEmoticon