ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศ


     เราควรทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า เพราะส่วนมากเป็นประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ เเอร์ 50-80 เปอร์เซ็นต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ควรจะศึกษาทำความเข้าใจเพื่อตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และไม่เกินความจำเป็น


การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ





     เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนานจึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศดังนี้

1. หมั่นตรวจสอบ และทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแฟนคอยล์ยูนิต ทุก 2 สัปดาห์

2. แผงคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนควรทำความสะอาด 3-6 เดือนต่อครั้ง

3. มอเตอร์พัดลมทั้งแฟนคอยล์ยูนิตและคอนเด็นซิ่งยูนิต ต้องมีการตรวจเช็คทุก 6 เดือนและ ทำการหล่อลื่นโดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

4. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์

5. ตรวจดููทิศทางลมเข้าออกของแฟนคอยล์ยูนิต ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม

6. ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอนเด็นซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต

7. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่

8. ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ




1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม โดยตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25'C หากปรับอุณหภูมิเป็น 26-28'C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20

2. ใช้พัดลมช่วยในการถ่ายเทอากาศให้รู้สึกสบายขึ้น

3. อย่านำสิ่งของไปขวางทางลมเข้าออกของคอนเดนซิ่งยูนิต จะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออก และอย่านำสิ่งของไปขวางทางลมของ แฟนคอยล์ ยูนิตทำให้ห้องไม่เย็น

4. ลดความชื้นภายในห้องให้ต่ำ โดยการไม่ปลูกต้นไม้หรือตากผ้าภายในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศที่สุด เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น

5. ควรเปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะเปิดใช้งานจะมีความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น

6. รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

7. สังเกตเสียงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ว่าปกติดีหรือไม่

8. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ




ก่อนการติดตั้ง

   เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัดพลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้

1. หากห้องที่ทำการปรับอากาศมีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย

2. หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง

3. เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมี แผ่นฟอยล์ (Aluminum Foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้าจะช่วยลดการส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้

4. พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศต้องมีขนาดไม่เกิน 6 นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จาเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ควรสูบบุหรี่ นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก

5. ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้าติดกับห้องนอน อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้าก็ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น

6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้าสู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่าง แผ่นเกล็ดมาก ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่

7. ควรทาสีผนังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน จะช่วยลดการนำความร้อนผ่านผนังได้ดี


กระบวนการติดตั้ง

   การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว ยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น

2. หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนา เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายนอกตามเส้นท่อ

3. ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ 

4. ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก

6. ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง



     ในการเลือกขนาดสายไฟฟ้าให้เลือกตามขนาดสายไฟฟ้า ตามกฎบังคับการเดินสายไฟฟ้า เช่น NEC,I.E.C และกฎการเดินสายของการไฟฟ้านครหลวง กฎการเดินสายไฟฟ้ามักกาหนดขนาดของสายโดยมีหลักการจำกัดอุณหภูมิของสายไฟฟ้าไม่ให้เกิดพิกัดที่ฉนวนสายไฟฟ้าจะทนได้และในการเลือกสายไฟฟ้าต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้


1.แรงดันไฟฟ้าตกในสายไฟฟ้า โลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าในสายจะมีความต้านทานอยู่ด้วยผลคูณของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทานจะเป็นแรงดันตกในสาย ซึ่งถ้าแรงดันตกมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้

2. แรงดันไฟฟ้าตกในขณะสตาร์ทมอเตอร์ ในขณะที่มอเตอร์เริ่มสตาร์ทจะกินกระแสไฟฟ้าประมาณ 4-6 เท่าของกระแสไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์เริ่มเดินที่รอบปกติที่ภาระเต็มที่ (Full Load) ขึ้นอยู่กับแบบมอเตอร์เอง และจะลดเมื่อมอเตอร์หมุนซึ่งผลกระทบที่มีต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ของระบบปรับอากาศคือ จะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ออกตัวหมุนไม่ได้ และบางครั้งออกตัวแล้วแต่ไม่สามารถเร่งความเร็วขึ้นจนถึงความเร็วใช้งานได้ทาให้หยุดหมุน เนื่องจากโอเวอร์โหลดตัด



เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)

Add Comment
เครื่องปรับอากาศ (Air conditioner)



          เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ (Air conditioner, aircon) คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหะสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งเเบบตั้งพื้น ติดผนัง เเละเเขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการถ่ายเทความร้อน คือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอกอากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น เเละเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย

          ขนาดเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตรเย็นลด 1 องศาฟาเรนไฮต์)  (5/9 องศาเซลเซียส)



ประเภทของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน

          ถ้าเเบ่งตามลักษณะตำแหน่งของแฟนคอยล์ ยูนิท (ตัวพัดลมที่เป่าความร้อนออกไปภายนอก) จะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

     1.เเบบชั้นเดียว - หรือพวกเราคุ้นเคยในในชื่อ เเอร์ฝัง แบบติดหน้าต่าง/ผนัง (window type) ตัวเเฟนคอยล์ ยุนิตจะอยู่เป็นชิ้นเดียวกับตัวคอนเดนซิ่ง ยุนิต (ส่วนที่เป็นลมเย็นให้กับภายในห้อง)

ข้อดี  

- ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
- ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ทำให้สามารถติดตั้งง่ายและสะดวก
- ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
- สามารถทำความเย็นได้ดีมาก
- เครื่องเดินเงียบทนทานประหยัดไฟ
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินท่อน้ำยา
- ไม่มีปัญหาในการหาที่วางคอยล์ร้อนเหมือนแอร์แบบอื่นๆ 


ข้อเสีย 

- เสียงจะค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะเมื่อมันเก่ามากๆ) เเรงสั่นสะเทือนที่กระทำต่อตัวเครื่อง 
- จะมีปัญหาในการติดตั้ง ถ้าเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก ต้องทำโครงสร้างมาช่วยค้ำจุนเพิ่ม 
- ความสามารถในการส่งอากาศเย็นเป็นไปในช่วงแคบกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น


  นอกจากนี้ภายในตัวเครื่องยังประกอบด้วยวงจรการทำความเย็นการหมุนเวียนอากาศสมบรูณ์ในตัว ซึ่งวงจรการหมุนเวียนของอากาศจะถูกเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ วงจรการหมุนเวียนของอากาศภายนอกห้องเเละวงจรหมุนเวียนของอากาศภายในห้อง โดยมีมอเตอร์ชนิด เเกนเพลาเป็นตัวขับเคลื่อนใบพัดให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ






     2.เเบบแยกชิ้น (split type) - เป็นเเบบที่เราเห็นกันทั่วไปเเละนิยมมากที่สุด โดยตัวเเฟนคอยล์ ยูนิตนั้นจะเเยกไปติดตั้งภายนอกอาคาร ทำให้มี

ข้อดี คือ เงียบ เเละมีรูปแบบให้เลือกค่อนข้างมาก 
ข้อเสีย คือ การติดตั้งที่จะค่อนข้างเสียเวลาเพราะต้องมีการเดินท่อน้ำยาแอร์ 






          น้ำยาแอร์ ปัจจุบันที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศภายทั่วไปรวมถึงตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศเเบบส่วนกลางที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีชื่อเรียกทางเคมีว่า R-22 ส่วนน้ำยาเเอร์ สำหรับใช้ในรถยนต์มชื่อเรียกทางเคมีว่า R-134A



 ค่า EER

           ค่า EER ย่อมาจาก  Energy Efficiency Rating เป็นค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ โดยจะหาได้จาก ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (บีทียู ต่อชั่วโมง) หารด้วย กำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศใช้ (วัตต์) เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 11,700 บีทียูต่อชั่วโมง ใช้ไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะมีค่า EER = 11,700 หาร 1,000 = 11.7 เป็นต้น


     หากเครื่องปรับอากาศมีค่า EER  สูง จะมีความสามารถสูงขึ้น สามารถทำงานดูดความร้อนได้ในอัตรา (BTU/hr) ที่สูงขึ้น โดยใช้พลังงาน (วัตต์เท่าเดิม หรือดูดความร้อนในอัตราเท่าเดิมโดยใช้พลังงานน้อยลง นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่า EER สูง ยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง)


          ค่า EER นี้ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินฉลากพลังงานด้วย โดยที่เครื่องปรับอากาศที่จะได้แลาดประหยัดไฟเบอร์ 5 ในประเทศไทย จะต้องมีค่า EER = 11.6 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 27,296 บีทียู/ชั่วโมง และ 11.0 ขึ้นไป สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาด มากกว่า 27,296 บีทียู/ชั่วโมง

ปัจจุบันได้เพิ่ม SEER สำหรับเครื่องปรับอากาศเเบบอินเวอร์เตอร์

          อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER สูงๆ ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย (ดูตารางประกอบด้านล่าง)



          การดูจากหน่วยของค่า EER นี้เข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง กับค่าพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้บริโภคในการทำความเย็น เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า


          เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง


          ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใช้แล้ว หรือต้องการใช้เครื่องปรับอากาศยังมีข้อสงสัยเรื่องการประหยัดไฟของเครื่องปรับอากาศเบอร์ 4 หรือ เบอร์ 5 ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และจะประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งค่าการประหยัดไฟแต่ละเบอร์นั้นได้กำหนดตามระดับ EER ดังตารางด้านล่างนี้



 ตัวอย่าง 


          การคํานวณค่าไฟฟ้า      

                 ชั่วโมงการใช้งานเครื่องปรับอากาศ 8 ชั่วโมง/วัน                 
      อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยหน่วยละ 3.96 บาท/หน่วย


~ โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศมักจะบอกขนาดเป็นบีทียูต่อชั่วโมง (Btu/hr.) 

~แต่ส่วนใหญ่คนทั่วไปจะเรียกสั้นๆ ว่าบีทียู Btu เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า British Thermal Units

~"ความหมายของ  1  บีทียู ก็คือ ปริมาณความร้อนที่เพิ่มอุณหภูมิของน้ำ 1 ปอนด์ (0.45  กิโลกรัม)

อุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์  (0.56 องศาเซลเซียส) ในเวลา 1 ชั่วโมง" 

1  บีทียู  =   1,055  จูล

หน่วย  12,000  บีทียู/ชั่วโมง มักจะเรียกว่า 1 ตันทำความเย็น ซึ่งจะหมายถึงว่าปริมาณความร้อนที่สามารถละลายน้ำแข็งหนัก 1 ตันให้ละลายเป็นน้ำได้หมดในเวลา 1 ชั่วโมง

โดยทั่วไป ในเนื้อที่  1 ตารางฟุต  ดึงความร้อนออกประมาณ  30  บีทียู  

ดังนั้นเนื้อที่ประมาณ  2000  ตารางฟุต  (185.5  ตารางเมตร)  
ต้องใช้เครื่องปรับอากาศขนาด  60,000  บีทียูหรือขนาด 5 ตันทำความเย็น


อย่างไรก็ตามเป็นการคำนวณคร่าว ๆ  เพราะจะต้องรวมของที่อยู่ในห้อง จำนวนคน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น


ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ

Add Comment
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ




1. คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ กับสารทำความเย็น โดยสารทำความเย็นเหลวซึ่งมีความดัน และอุณหภูมิต่ำจะรับความร้อนเข้ามามีผลทำให้สารทำความเย็นเดือดกลายเป็นไอ

2. คอยล์ร้อน (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ไอสารทำความเย็นควบแน่นกลับเป็นสารทำความเย็น ในสถานะของเหลว โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นเมื่อไอน้ายาสูญเสียความร้อนถึงจุดหนึ่งจะควบแน่นเป็นของเหลว ความร้อนที่ถูกดึงออกจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่สารทาความเย็นดูดกลืนจากคอยล์เย็นบวกกับความร้อนที่ได้รับจากการทางานโดยการอัดของคอมเพรสเซอร์

3. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็น โดยการดูดและอัด มีผลให้ ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทาให้สารทำความเย็นเกิดการไหลเวียนใน ระบบอีกด้วย โดยปกติคอมเพรสเซอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทำการดูดและอัด น้ำยาโดยเฉพาะ และ น้ำยาหรือสารทำความเย็นที่จะผ่านคอมเพรสเซอร์จะต้องมีสภาพเป็นไอ น้ำยา (สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ)เท่านั้น ดังนั้นถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีน้ายาสภาพเป็นของเหลวไหลผ่านเข้ามาจะเกิดผลเสียหายกับ คอมเพรสเซอร์อย่างแน่นอน

4. อุปกรณ์ลดความดัน (Expansion Valve) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็นและควบคุมปริมาณการไหลของสารทำความเย็นก่อนเข้าคอยล์เย็นให้มีปริมาณพอเหมาะ


     เครื่องปรับอากาศมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง คือ ส่วนที่เรามองเห็นโดยที่ไม่ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบภายในเครื่อง คือ ส่วนที่จะเห็นเมื่อถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศออก 


     ส่วนประกอบภายนอก 

    ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศจะแตกต่างกันตามแบบและรุ่นของเครื่องปรับอากาศนั้นๆ ในหน่วยการเรียนนี้จะอธิบายเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนัง ดังนี้

   1.ฝาครอบเครื่องปรับอากาศมีลักษณะเป็นตะแกรงเพื่อให้อากาศที่ดูดจากใบพัดส่งลมเย็นไหลผ่าน

   2.แผงกรองอากาศติดตั้งอยู่ด้านหลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ ใช้เพื่อกรองฝุ่น ละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศ เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีสารฟอกอากาศอยู่ที่แผงกรองอากาศนี้

   3.แผ่นเกล็ดกระจายลมเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางลมขึ้น ลง ด้านซ้าย และด้านขวาได้ เพื่อกำหนดทิศทางของลมเย็นที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศ

   4.สวิตช์เปิดและปิดส่วนใหญ่เครื่องปรับอากาศจะเปิดสวิตช์นี้ค้างไว้เพื่อรับคำสั่งการเปิดและปิดจากรีโมทคอนโทรล ดังนั้นสวิตช์เปิดและปิดจึงมักติดตั้งอยู่หลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ

   5.ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ในปัจจุบันสั่งงานด้วยสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลเพื่อให้สะดวกในการสั่งงาน ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลจึงเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญชิ้นหนึ่ง

   6.ไฟแสดงการทำงาน ลักษณะไฟจะแตกต่างกันไปตามประเภทและรุ่นของเครื่องปรับอากาศ ปกติแล้วจะมี 3 ดวง คือไฟสีแดงแสดงสภาวะเครื่องทำงาน (Power) ไฟสีส้มแสดงสภาวะในขณะที่คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศไม่ทำงานแต่ใบพัดส่งลมเย็นทำงานอยู่ (Sleep) และไฟสีเหลืองแสดงสภาวะการตั้งเวลาของเครื่องปรับอากาศ  (Time)

   7.ช่องอากาศออก มีลักษณะเป็นตะแกรงอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารเป็นช่องระบายอากาศที่ถูกพัดลมดูดอากาศจากอีกด้านหนึ่งพัดผ่านแผงท่อระบายความร้อนออกมา

   8.ท่อระบายน้ำทิ้งเมื่อเครื่องปรับอากาศดูดอากาศและความชื้นภายในห้องเข้ามาความชื้นเหล่านั้นจะกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำและถูกระบายออกทางท่อระบายน้ำทิ้ง





     ส่วนประกอบภายใน

     ส่วนประกอบภายใน ภายในของเครื่องปรับอากาศจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่สำคัญดังนี้

   1.ท่อนำสารทำความเย็น (Refrigerant Pipe) แบ่งออกเป็น 2 ท่อ ทำหน้าที่ ส่งสารทำความเย็นเข้าสู่แผงทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศส่วนที่อยู่ภายในอาคาร และนำสารจากแผงทำความเย็นไปยังคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ภายนอกอาคาร

   2.แผงท่อทำความเย็น(Cooling coil) มีลักษณะเป็นตะแกรงติดตั้งอยู่ด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ภายในแผงท่อทำความเย็นจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่เพื่อรับลมจากใบพัดส่งลมเย็นและส่งไปยังแผ่นเกล็ดกระจายลม

   3.มอเตอร์(Motor) มีหน้าที่หมุนใบพัดส่งลมเย็นเพื่อให้เกิดแรงลม

   4.ใบพัดส่งลมเย็น(Blower) ต่อเชื่อมกับมอเตอร์สำหรับพัดส่งลมเย็นไปยังแผงท่อทำความเย็น

   5.คอมเพรสเซอร์(Compressor) ติดตั้งอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่อยู่ในสภาพเป็นไอจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและอัดไอจากสารทำความเย็นไปยังแผงท่อระบายความร้อนต่อไป

   6.แผงท่อระบายความร้อน(Condensing coil)  ต่อเชื่อมกับคอมเพรสเซอร์มีลักษณะเป็นท่อตะแกรง ภายในมีสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ไหลเวียนอยู่

   7.พัดลมระบายความร้อน(Condensing fan) อยู่ด้านหลังแผงท่อระบายความร้อนทำหน้าที่ดูดอากาศภายนอกอาคารเข้ามาผ่านผ่านแผงท่อระบายความร้อนเพื่อให้สารทำความเย็นเย็นลงและกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง

หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

4 Comments
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

          การนำเอาความร้อนจากที่ที่ต้องการทำความเย็น (โดยทั่วไปคือภายในอาคาร) ถ่ายเทไปสู่ที่ที่ไม่ต้องการทำความเย็น (นอกอาคาร) โดยผ่านตัวกลางคือ สารทำความเย็นหรือที่เรียกกันว่าน้ำยา ซึ่งจะมีลักษณะการทางานดังรูป




          เมื่อทำการเปิดเครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็นซึ่งเป็นของเหลวในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป


          จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทาให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของห้องอย่างทั่วถึง


        สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็นเมื่อได้รับความร้อนจากอากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอและไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่งต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอดเวลาจนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้



     อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทาความเย็นใหม่ ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25'C



ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ

Add Comment
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ


EER กับ BTU คืออะไร

BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศมีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr

BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการ ทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สะบายตัว และที่สำคัญ ราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน

BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตาม อุณหภูมิ ที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศ เสียเร็ว




การเลือกขนาด BTU 






     EER (Energy Efficiency Ratio) เป็นค่าประสิทธิภาพพลังงานซึ่งคำนวณโดยการเอาค่าบีทียูมาหารด้วยจำนวนวัตต์ เช่น เครื่องปรับอากาศ 12,000 บีทียู ใช้พลังงาน 1,200 วัตต์ ค่า EER จะเท่ากับ 12,000 / 1,200 =10.0



ค่า EER ยิ่งสูงยิ่งประหยัดค่าไฟ

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน

Add Comment

การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน




1. ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศในแต่ละรุ่น

2. เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

3. เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง

4. เครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือกซื้อเครื่องที่ติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพหมายเลข 5

5. เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย

6. เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน และพื้นที่ใช้สอย

7. เลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป 
โดยขนาดความสูงของห้องปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้

พื้นที่ 13-15 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 8,000 บีทียู 
พื้นที่ 16-17 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 10,000 บีทียู 
พื้นที่ 20 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 12,000 บีทียู 
พื้นที่ 23-24 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 14,000 บีทียู 
พื้นที่ 30 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 18,000 บีทียู 
พื้นที่ 40 ตร.ม. ควรใช้ขนาด 24,000 บีทียู

8. เลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทาความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้

- ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น
- ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น

ชนิดของเครื่องปรับอากาศ

Add Comment

ชนิดของเครื่องปรับอากาศ


     เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป มักมี


     เครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด คือ

1. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split Type)

2. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (Window Type)


 1. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (split Type) 

ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ

1.) ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ หน้ากากพร้อมเกล็ด กระจายลมเย็น



2.) อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต
(Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น






 2. เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง (Window Type)

        มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว หรือทาวน์เฮาส์ ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติดตั้ง หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป มักติดเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่าง ที่วงกบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง







เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดไฟได้จริงหรือ?

Add Comment

เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดไฟได้จริงหรือ?




     ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในเรื่องความเย็น ความทนทาน รวมถึงการประหยัดพลังงาน ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ถือว่าเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของเครื่องปรับอากาศใช้ภายในบ้าน และออฟฟิศที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ได้ประหยัดไฟเบอร์ 5 ไปอีกขั้น มีจุดเด่นคือเรื่องของการประหยัดพลังงาน การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ คงที่และต่อเนื่อง ทำงานเงียบไร้เสียงรบกวนการทำงานของเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไป มอเตอร์คอมเพรสเซอร์จะทำงานด้วยรอบที่คงที่ เมื่อมีการตัดต่อการทำงานเพื่อรักษาอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จึงมีการกระชากของกระแสไฟเป็นช่วงๆตลอดเวลาต้องใช้เวลาในการทำความเย็นเพื่อให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน การทำงานของเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ระบบความเย็นที่เหนือกว่า


   มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ (Motor Compressor)

   จะเร่งรอบการทำงานด้วยความเร็วสูงสุด เพื่อให้ได้ความเย็นในระดับที่ต้องการอย่างรวดเร็วแล้วค่อยๆลดรอบการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลงมาเพื่อรักษาอุณหภูมิตามที่ต้องการ เพื่อรักษารอบ
การทำงานที่ประหยัดสุดและให้ความเย็นสบายที่แม่นยำ คงที่เงียบไร้เสียงรบกวนใหม่ทุกครั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป


   ชิปประมวลผลอัจฉริยะ DIP-IPM (Dual In Line Package Intelligent)




       ชิปอัจฉริยะที่ควบคุมการใช้กระแสไฟฟ้าได้อย่างสมํ่าเสมอสอดคล้องกับความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการประหยัดพลังงานให้เครื่องปรับอากาศและเครื่องใช้้ไฟฟ้าทั่วโลกแล้วยังถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ระดับโลกที่ทำงานด้วย มอเตอร์และไฟฟ้า เช่น รถไฟหัวกระสุน โซล่าเซลส์กังหันไฟฟ้าเป็นต้น นวัตกรรมอันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะมิตซูบิชิ อีเล็กทริค ซูเปอร์อินเวอร์เตอร์



   มอเตอร์ต้นแบบที่เปี่ยมประสิทธิภาพ Joint Lap DC Motor

     ด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีของการพันขดลวดแบบพิเศษ ทำให้พันขดลวดทองแดงได้แน่นยิ่งขึ้น ไม่ขาดง่ายลดการสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากร และทำให้ได้มอเตอร์ทีมีขนาดกระทัดรัด เครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพ สามารถลดการสูญเสียพลังงานได้อย่างดีเยี่ยม 



แม่เหล็กชนิดใหม่ Rare Earth Magnet Rotor

     เกิดจากการใช้แม่เหล็กชนิดใหม่ ที่เพิ่มกำลังแม่เหล็กไฟฟ้าได้มากถึง 3 เท่า แต่มีขนาดเล็กและนํ้าหนักเบาแทนที่แม่เหล็กแบบฟอร์ไรท์ ทีมีขนาดใหญ่นํ้าหนักมากแต่ให้พลังงานน้อยกว่า


     ให้ความเย็นอย่างแม่นยำและคงที่ ลดการสูญเสียพลังงาน Temperature Control PAM (Pulse Amplitude Modulation) ช่วยทำหน้าที่ปรับคลื่นของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟให้มีลักษณะตรงกับคลื่นของกระแสไฟฟ้าขาเข้ามากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าเร่งทำความเย็นได้อย่างรวดเร็ว และ PWM (Pulse Width Modulation) ขณะเดียวกันยังช่วยปรับแรงดันไฟฟ้า เพื่อรักษารอบของคอมเพรสเซอร์ให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิตามที่ตั้งไว้ ช่วยให้ได้รับความเย็นที่แม่นยำและคงที่ตลอดเวลาเพื่อความประหยัด


   นอกจากนั้นการทำงานของเครื่องปรับอากาศยังต้องสอดคล้องกับการใช้งานโดยมีปัจจัยจากอุณหภูมิห้องและจำนวนคนภายในห้องปรับอากาศ


ข้อมูลจาก  Bkairsupply

การประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ

Add Comment
การประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ 


การประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศ

 ลดความร้อนจาก ภายนอกอาคาร



 เลือกขนาดให้เหมาะสม กับการใช้งาน



 ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมเพื่อให้มีเวลาพัก การทำงาน



 อย่างน้อยปีละครั้ง ควรใช้ช่างตรวจ ระบบการทำงาน



 หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรอง อากาศ คอยล์เย็น และคอนเดนเซอร์ ระบายความร้อน





 ติดตั้งคอนเดนเซอร์ใน บริเวณที่เหมาะสม 



 ตั้งค่าอุปกรณ์ควบคุม อุณหภูมิให้พอเหมาะ